เมนู

อรรถกถาฉฉักกสูตร



ฉฉักกสูตรขึ้นต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อาทิกลฺยาณํ ความว่า เราจะทำให้
ไพเราะคือให้ปราศจากโทษ ให้ดีในเบื้องต้น แล้วแสดง. แม้ที่ไพเราะใน
ท่ามกลางและที่สุดก็ทำนองเดียวกันนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยอริยวงศ-
สูตรด้วย 9 บท มหาสติปัฏฐานสูตรด้วย 7 บท มหาอัสสปุรสูตรด้วย 7 บท
เหมือนกัน ด้วยประการฉะนี้ . สำหรับพระสูตรนี้ ทรงชมเชยด้วย 9 บท
คำว่า พึงทราบ คือพึงทราบด้วยมรรคพร้อมกับวิปัสสนา. จิตที่เป็น
ไปในภูมิสามเท่านั้นทรงแสดงด้วยมนายตนะ. และธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3
ข้างนอกทรงแสดงด้วยธรรมายตนะ. ยกเว้นทวิปัญจวิญญาณ (วิญญาณ 5 คู่
รวม 10 ดวง) โลกิยวิบากจิต 20 ดวงที่เหลือ ทรงแสดงด้วยมโนวิญญาณ.
ผัสสะและเวทนาเป็นธรรมที่สัมปยุตด้วยวิบากวิญญาณตามที่กล่าวไว้แล้ว คำว่า
ตัณหา ได้แก่ตัณหาที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนะ อันมีวิบากเวทนาเป็นปัจจัย
คำว่า จักษุเป็นตัวตน มีคำเชื่อมต่อเป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. ก็แลเพื่อแสดง
ความที่สัจจะ 2 ข้อที่ตรัสไว้ในหนหลังไม่เป็นตัวตน จึงทรงเริ่มเทศนานี้ ใน
บทเหล่านั้น บทว่า ไม่ควร หมายถึงไม่เหมาะ. คำว่า เสื่อมไป คือ
ปราศไป ดับไป. คำว่า อยํ โข ปน ภิกฺขเว คือ แม้นี้ก็เป็นคำเชื่อมต่อที่
เป็นแผนกหนึ่งโดยเฉพาะ. จริงอยู่ เพื่อทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจความถือมั่น
3 อย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มเทศนานี้. บางท่านว่า เพื่อทรงแสดง
วัฏฏะด้วยสัจจะ 2 ข้อ คือ ทุกข์ สมุทัย ดังนี้ก็มีเหมือนกัน. ในคำว่า
นั่นของเรา เป็นต้น พึงทราบความถือมั่น ด้วยตัณหามานะ และทิฐินั่นแล.
คำว่า ย่อมเล็งเห็น คือย่อมเห็นด้วยอำนาจความถือมั่นทั้ง 3 อย่าง.

ครั้นทรงแสดงวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วย
อำนาจปฏิปักษ์ต่อความถือมั่นทั้ง 3 อย่าง หรือเพื่อทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจ
สัจจะ 2 ข้อ คือ นิโรธ มรรค เหล่านั้น จึงตรัสว่า อยํ โข ปน ดังนี้ เป็นต้น.
คำว่านั่นไม่ใช่ของเรา เป็นต้น เป็นคำปฏิเสธตัณหาเป็นต้น. คำว่า ย่อม
เล็งเห็น
คือ ย่อมเห็นว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และไม่ใช่ตัวตน.
ครั้นทรงแสดงวิวัฏฏะอย่างนี้แล้ว คราวนี้ เพื่อจะทรงแสดงวัฏฏะด้วย
อำนาจอนุสัยทั้งสามอย่างอีก จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ ภิกฺขเว
ในคำเหล่านั้น คำเป็นต้นว่า ย่อมเพลิดเพลิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ด้วยอำนาจตัณหาและทิฐิเท่านั้น. คำว่า นอนเนือง คือยังละไม่ได้. คำว่า
แห่งทุกข์ ได้แก่แห่งวัฏฏทุกข์และกิเลสทุกข์.
ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยอำนาจอนุสัยสามอย่างอย่างนี้แล้ว คราวนี้เมื่อ
จะทรงแสดงวิวัฏฏะด้วยอำนาจเป็นนัยที่ตรงกันข้ามแห่งอนุสัยทั้งสามอย่างนั้น
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า จกฺขุญฺจ อีกครั้งหนึ่ง. คำว่า ละอวิชชา คือ
ละความไม่รู้อันเป็นรากเง่าของวัฏฏะได้แล้ว. คำว่า ยังวิชชา คือยังความรู้
คืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นแล้ว.
คำว่า นั่น ย่อมเป็นฐานะที่มีได้ คือด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้แหละ
พระองค์ก็ทรงเทศนาด้วยอำนาจวัฏฏะและวิวัฏฏะให้ถึงยอดได้แล้ว เมื่อจะทรง
รวบรวมพระธรรมเทศนานั้นเอง ก็ได้ตรัสคำเป็นต้นว่า เอวํ ปสฺสํ ภิกฺขเว
อีกครั้งหนึ่ง. ในคำว่า ภิกษุประมาณ 60 รูป นี้ นั้นไม่น่าอัศจรรย์
เลย ที่เมื่อพระตถาคตเจ้าทรงแสดงเองแท้ ๆ ภิกษุ 60 รูป ได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์. เพราะว่า แม้เมื่อท่านธรรมเสนาบดีแสดงสูตรนี้ ก็มีภิกษุ 60
รูปบรรลุเป็นพระอรหันต์ ถึงแม้พระมหาโมคคัลลานะแสดงก็ดี พระมหาเถระ

80 รูป แสดงก็ดี ก็มีภิกษุ 60 รูป สำเร็จเหมือนกันนั่นแหละ แม้ข้อนี้ก็ไม่
น่าอัศจรรย์. เพราะพระสาวกเหล่านั้น ท่านบรรลุอภิญญาใหญ่ (กันทั้งนั้น ).
ก็แลในเวลาภายหลัง พระมาไลยเทพเถระในเกาะลังกา ก็ได้แสดง
พระสูตรนี้ภายใต้โลหปราสาท. ถึงครั้งนั้นก็มีภิกษุ 60 รูปสำเร็จเป็นพระอรหันต์.
และพระเถระก็แสดงพระสูตรนี้ในประรำใหญ่เหมือนพระมาไลยเทพเถระแสดง
ในโลหปราสาทเหมือนกัน. พระเถระเมื่อออกจากมหาวิหารแล้วก็ไปเจดียบรรพต
ในที่นั้น ท่านก็แสดงเหมือนกัน. ต่อจากนั้น ท่านก็ไปแสดงที่วัดสากิยวงก์
ที่วัดกูฏาสี ที่ระหว่างหนอง ที่ลานมุกดา ที่เขาปาตกา ที่ปาจีนฆรกะ (เรือน
ตะวันออก) ทีฆวาปี (หนองแวง) ที่ซอกเขาหมู่บ้านและพื้นที่เลี้ยงแพะ
แม้ในที่เหล่านั้น . ก็มีภิกษุ 60 รูป ๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน .
และเมื่อออกจากที่นั้นแล้วพระเถระก็ไปสู่จิตตลบรรพต. และคราวนั้น ที่วัด
จิตตลบรรพต มีพระมหาเถระมีพรรษากว่า 60. ใกล้สระบัวใหญ่มีท่าลึก
ชื่อว่า ท่ากุรุวัก. ที่ท่านั้นพระเถระคิดว่าเราจะอาบน้ำจึงลงไป. พระเทวเถระ
ไปหาท่านแล้ว เรียนว่า กระผมจะตักน้ำสรงถวายท่าน ขอรับ. ด้วยการปฏิ-
สันถารนั่นเอง พระเถระก็ทราบได้ว่า พวกคนเขาว่า มีพระมหาเถระชื่อ
มาไลยเทพ ท่านคงเป็นท่านรูปนี้ จึงถามว่า ท่านเป็นท่านเทพหรือ. ครับท่าน
คุณไม่มีใครที่ใช้มือถูร่างของเราตั้ง 60 ปีแล้ว แต่คุณกลับจะอาบน้ำให้เรา
แล้วก็ขึ้นไปนั่งที่ตลิ่ง.
พระเถระก็ทำบริกรรมมือและเท้าจนทั่วแล้วก็สรงน้ำถวายพระมหาเถระ.
และวันนั้นเป็นวันฟังธรรม. ที่นั้น พระมหาเถระจึงว่า คุณเทพ คุณควรให้ธรรม
ทานแก่เราทั้งหลาย. พระเถระรับว่า ตกลง ครับท่าน. ครั้นเมื่อพระอาทิตย์
ตกแล้ว พวกคนก็ไปป่าวร้องฟังธรรมกัน. พวกท่านพระมหาเถระ 60 รูป ล้วน
แต่เลย 60 พรรษาทั้งนั้น ได้พากันมาฟังธรรม. พระเทพเถระ ก็เริ่มสูตรนี้

เมื่อจบสวดทำนองแล้ว. และเมื่อจบพระสูตร พระมหาเถระ 60 รูป ก็ได้
สำเร็จเป็นพระอรหันต์. ต่อจากนั้นท่านก็ไปแสดงที่ติสสมหาวิหาร. แม้ในวัด
นั้นก็มีพระเถระ 60 รูป (ได้เป็นพระอรหันต์). ต่อจากนั้นก็แสดงที่นาคมหา-
วิหาร ใกล้หมู่บ้านกลกัจฉะ. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ 60. รูป (ได้เป็นพระ
อรหันต์). ต่อจากนั้น ก็ไปวัดกัลยาณี ในวัดนั้นท่านก็แสดงภายใต้ปราสาท
ในวันที่ 14 ค่ำ. แม้ในที่นั้นก็มีพระเถระ 60 รูป (ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์).
ในวันอุโบสถก็แสดงบนปราสาท. ที่บนปราสาทนั้น ก็มีพระเถระ 60 รูป
(สำเร็จเป็นพระอรหันต์เหมือนกัน ) เมื่อพระเทพเถระนั่นแล แสดงพระสูตรนี้
อย่างนี้ ในที่ 60 แห่ง ก็มีผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แห่งละ 60 รูป ด้วย
ประการฉะนี้.
แต่เมื่อท่านจุลลนาคเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก แสดงพระสูตรนี้ในวัด
อัมพิลกฬกวิหาร มีบริษัทคนสามคาวุต. บริษัทเทวดาหนึ่งโยชน์. เมื่อจบ
พระสูตร มีภิกษุหนึ่งพันรูปได้เป็นพระอรหันต์. ส่วนในหมู่เทวดาจาก
จำนวนนั้น ๆ แต่ละจำนวน มีปุถุชนเพียงจำนวน 1 องค์เท่านั้นแล.
จบอรรถกถาฉฉักกสูตรที่ 6

7. สฬายตนวิภังคสูตร



[825] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเนื่อง
ด้วยมหาสฬายตนะแก่เธอทั้งหลาย พวกเธอจงพึงธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี
เราจักกล่าวต่อไป ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า.
[826] พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลายบุคคล
เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ ตามควานเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นรูป ตามความเป็น
จริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุวิญญาณ ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นจักษุ
สัมผัส ตามความเป็นจริง เมื่อไม่รู้ไม่เห็นความเสวยอารมณ์ เป็นสุขก็ตาม
เป็นทุกข์ก็ตาม นิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย
ตามความเป็นจริงย่อมกำหนัดในจักษุ กำหนัดในรูป กำหนัดในจักษุวิญญาณ
กำหนัดในจักษุสัมผัส กำหนัดในความเสวยอารมณ์เป็นสุขก็ตาม เป็นทุกข์ก็
ตาม มิใช่ทุกข์มิใช่สุขก็ตาม ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล
นั้นกำหนัดนักแล้ว ประกอบพร้อมแล้ว ลุ่มหลง เล็งเห็นคุณอยู่ ย่อมมี
อุปาทานขันธ์ 5 ถึงความพอกพูนต่อไป และเขาจะมีตัณหาที่นำไปสู่ภพใหม่
สหรคตด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี อันมีความเพลิดเพลินในอารมณ์
นั้น ๆ เจริญทั่ว จะมีความกระวนกระวายแม้ทางกาย แม้ทางใจเจริญทั่ว จะมี